หน่วยที่ 7  พลาสทิเกจ
1. คุณลักษณะของพลาสทิเกจ
            พลาสทิเกจ (Plastigage) ลักษณะเป็นสารประเภทพลาสติกทำเป็นเส้นกลมขนาดเท่ากันตลอดทั้งเส้น มีความอ่อนตัวได้ดี
บรรจุอยู่ในซองกระดาษซึ่งข้างซองพลาสทิเกจจะมีสเกลสำหรับเทียบค่าการวัดจากความแบนของเส้นพลาสทิเกจที่ถูกบีบ
ตัวหลังใช้งานแล้ว  มีหลายขนาดแต่ละขนาดจะมีความเที่ยงตรงสูงใช้สำหรับวัดช่องว่างน้ำมันหล่อลื่น
ระหว่างเพลาข้อเหวี่ยงและรองลื่นของเครื่องยนต์  โดยทั่วไปพลาสทิเกจมีอยู่ 3 ขนาดและมีหลายสีดังนี้
          1.1 สีเขียว มีขนาดระหว่าง 0.025-0.076 mm (0.001-0.003 inches)
          1.2 สีแดง มีขนาดระหว่าง 0.051-0.152 mm (0.002-0.006 inches)
          1.3 สีน้ำเงิน มีขนาดระหว่าง 0.125-0.200 mm (0.005-0.008 inches)

https://1.bp.blogspot.com/-7k73V5N52Ag/Xw1Ok6k69XI/AAAAAAAAJ94/FqN51vK3nhMFNQmwDs7-AUOCJmquXTYDgCLcBGAsYHQ/s400/m7.1.png
ภาพ 7.1  ลักษณะของพลาสทิเกจ

2. หน้าที่ของพลาสทิเกจ
          พลาสทิเกจมีหน้าที่วัดช่องว่างน้ำมันหล่อลื่น เช่น ใช้วัดช่องว่างน้ำมันหล่อลื่นระหว่างเพลาข้อหวี่ยงกับรอง
เลื่นก้านสูบ  ใช้วัดช่องว่างน้ำมันหล่อลื่นระหว่างข้อหลักเพลาข้อเหวี่ยงกับเสื้อสูบช้วัดช่องว่างน้ำมันหล่อลื่น
ระหว่างเฟืองปั๊มน้ำมันเครื่องกับฝาปิดปั๊มน้ำมันเครื่องใช้วัดช่องว่างน้ำมันหล่อลื่นระหว่างเพลาราวลิ้นกับรองลื่น
เป็นต้น

3. การใช้พลาสทิเกจ
          3.1 เตรียมเครื่องมือวัสดุและอุปกรณ์
          3.2 กรณีวัดช่องว่างน้ำมันหล่อลื่นระหว่างข้อหลักเพลาข้อเหวี่ยงกับเสื้อสูบ ให้ถอดฝารองลื่นหลักออก         
          3.3 ทำความสะอาดข้อหลักและฝารองลื่นหลักทุกตัว
          3.4 เปิดดูค่ามาตรฐานจากคู่มือซ่อม จากนั้นเลือกขนาดของพลาสทิเกจให้เหมาะสม เช่น ค่ามาตรฐานตามคู่มือซ่อมกำหนดระหว่าง 
                0.035-0.080 mm ให้เลือกสีเขียวขนาดระหว่าง 0.025-0.076 mm
          3.5 ตัดเส้นพลาสทิเกจให้มีความยาวพอดีกับฝารองลื่นหลัก หรือสั้นกว่าเล็กน้อยแต่ไม่ควรเกินขนาดความกว้างของข้อหลักเพลาข้อ
                เหวี่ยง
          3.6 วางเส้นพลาสทิเกจลงบนข้อหลักเพลาข้อเหวี่ยง
          3.7 ประกอบฝารองลื่นหลักเพลาข้อเหวี่ยงขันสลักเกลียวยึดฝารองลื่นหลัก และขันแน่นด้วยประแจวัดแรงบิด ค่าการขันตามคู่มือซ่อม
          3.8 คลายสลักเกลียวยึดฝารองลื่นหลัก ถอดฝารองลื่นหลักออก
          3.9 อ่านค่าพลาสทิเกจ โดยนำสเกลข้างซองพลาสทิเกจวัดเทียบกับขนาดของพลาสทิเกจที่ถูกบีบจนแบน
          3.10 เปรียบเทียบค่าที่วัดได้กับค่ามาตรฐานจากคู่มือซ่อม  วิเคราะห์ผลการตรวจวัด

https://1.bp.blogspot.com/-iNQUGD5bFJA/Xw1OqgFoqJI/AAAAAAAAJ98/CEJTJEf3BHcVPRIM8gJt925Cn-av9YD6gCLcBGAsYHQ/s640/m7.2.png
ภาพ 7.2  การใช้พลาสทิเกจ
ข้อสังเกต
          1. หากพลาสทิเกจถูกบีบแบนมาก หมายถึงระยะช่องว่างน้ำมันหล่อลื่นน้อย
          2. หากพลาสทิเกจถูกบีบแบนน้อย หมายถึงระยะช่องว่างน้ำมันหล่อลื่นมาก
          3. หากพลาสทิเกจถูกบีบแบนด้านหัวท้ายไม่เท่ากัน หมายถึงเพลาข้อเหวี่ยงมีความเรียวมาก
          4. หากพลาสทิเกจถูกบีบแบนเฉพาะตรงกลาง หมายถึงเพลาข้อเหวี่ยงนูนกลาง
          5. หากพลาสทิเกจถูกบีบแบนเฉพาะหัวท้ายแต่ตรงกลางไม่แบน หมายถึงเพลาข้อเหวี่ยงเว้ากลาง
ข้อควรระวัง: ขณะตรวจวัดห้ามหมุนเพลาข้อเหวี่ยง

4. การบำรุงรักษาพลาสทิเกจ    
          4.1 เนื่องจากพลาสทิเกจเป็นสารประเภทพลาสติกทำเป็นเส้นกลมขนาดเท่ากันตลอดทั้งเส้น มีความอ่อนตัวได้ดี จึงไม่ควรเก็บในที่มีอุณหภูมิสูงหรือเก็บไว้ใกล้แหล่งความร้อนเพราะอาจทำให้พลาสทิเกจเสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนด
          4.2 ควรเก็บพลาสทิเกจใส่ไว้ในซองห้ามแยกเก็บไว้นอกซองบรรจุ
          4.3 ควรเก็บพลาสทิเกจแยกต่างหากไม่เก็บปะปนกับเครื่องมือชนิดอื่น
          4.4 ควรตัดเส้นพลาสทิเกจเฉพาะที่จำเป็นต้องใช้ ไม่ควร ตัดเผื่อไว้ใช้งานครั้งต่อไป
          4.5 ก่อนนำพลาสทิเกจออกจากซองมาใช้ ให้ใช้กรรไกรตัดที่ซองด้วยความระมัดระวัง ไม่ควร ฉีกซองเพราะอาจทำให้สเกลเทียบขนาดเสียหายหรือเส้นพลาสทิเกจชำรุดได้

5. การอ่านค่าพลาสทิเกจ        
          การอ่านค่าพลาสทิเกจ ให้นำสเกลข้างซองพลาสทิเกจมาวัดเปรียบเทียบกับขนาดของพลาสทิเกจที่ถูกบีบจนแบน โดยค่าที่อ่านจากข้างซองพลาสทิเกจบางรุ่นใช้หน่วย mm บางรุ่นใช้หน่วย inches
จากรูปที่ 7.3 (ก) อ่านค่าได้ 0.050 มิลลิเมตร  และจากรูปที่ 7.3 (ข) อ่านค่าได้ 0.063 มิลลิเมตร (เมื่อได้ค่าจากการตรวจวัดเรียบร้อยแล้วให้นำที่ได้ไปเปรียบเทียบกับค่าจากคู่มือซ่อมเพื่อวิเคราะห์สภาพชิ้นส่วนต่อไป)
https://1.bp.blogspot.com/-nVkuYfJC6TQ/Xw1PLECD2TI/AAAAAAAAJ-E/jEmdrQHiW0s-SeM90D5qOVBpEWMvIBmAQCLcBGAsYHQ/s640/m7.3.jpg

ภาพ 7.3  สเกลข้างซองพลาสทิเกจ

hit counter